E29AHU Amateur Radio
I'm fun to experiment.
วันศุกร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2568
Low band DXing
วันเสาร์ที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2567
เครื่องมือสำหรับเล่น Meteor Scatter
Meteor Scatter หรือการติดต่อแบบสะท้อนดาวตก เป็นอะไรที่ค่อนยาก มีโอกาสเล่นน้อย เพราะต้องรอการเกิดฝนดาวตกในแต่ละครั้ง และคนเล่นน้อย วันี้เลยรวบรวม tools ที่จะช่วยในเครื่องของการเล่น Meteor Scatter ไว้ครับ
Software ที่ใช้ WSJT-X
โหมดที่ใช้ MSK144
ความถี่ที่ส่วนใหญ่เล่นเท่าที่เจอใน twitter
144.360 MHz (EU)
144.440 MHz (JA)
144.150 MHz (JA)
50.260 MHz
วิธีการ setup WSJT-X สำหรับ MSK144
https://k5nd.net/2023/04/meteor-scatter-propagation-how-it-works-getting-on-the-air/
Meteor shower activity level
วันศุกร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2567
FT8 Monitoring
ทดลองติดตั้ง SDR โดยใช้ callsign ชื่อ E29AHU-1 แล้วสลับแบนด์ละ 30 นาที เปิดรับตลอด 24 ชม. เราสามารถตรจสอบได้ว่าความถี่แบนด์ไหนเปิดไม่เปิดของช่วงระหว่างเวลาวันนั้น ก็ช่วยให้เราวางแผนที่จะไปเล่นออกอากาศนอกสถาที่ หรือ POTA ได้ดีเลยทีเดียวครับ
กราฟแสดงการรับ FT8 เมื่อ 24ชม. ที่ผ่านมา ของวันที่ 22 มิถุนายน 2567 |
วันพฤหัสบดีที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
เล่น FT8 POTA แบบ Low Power อย่างไรให้สำเร็จ
จริงๆ เทคนิคนี้เป็นเรื่องของความบังเอิญ เนื่องจากการออก POTA ครั้งนี้ลืมเอาสายสำหรับ amplifier ไปไม่ครบ เลยจำเป็นต้องออกอากาศได้กำลังส่งสูงสุดแค่ 10W บวกกับสายอากาศ mobile ที่มีความยาวสั้นกว่า 1/4 lamda แถมยังมี loading coil อีก ก็จะทำให้กำลังส่งที่จะออกไปที่ปลายสายอากาศลดลงไปอีกมาก
แต่จริงๆแล้ว 10W ยังไม่นับว่าเป็น QRP เพราะ QRP ต้องไม่เกิน 5W ครับ
อุปกรณ์ในวั้นนั้นจะมี IC-705 และสายอากาศของ Diamond HF10FX HF20FX และ HF15FX
สำหรับการออกอากาศแบบ 10W ในครั้งนี้ของ FT8 แรกๆ ใช้แบนด์ 10m ซึ่งช่วงเวลานั้นเป็นช่วงหัวค่ำ และแบนด์ก็ค่อนข้างเปิดไปทางยุโรปดีเลยทีเดียว สังเกตจากการที่รับได้ แต่หลังจาก CQ ไป ประมาณ 5 นาที ทุกอย่างเงียบกริ๊บ ตามไปดูรายงานใน PSKReporter.onfo ก็ไม่เจอว่าสัญญาณของเราจะมีใครรับได้เลย
ดังนั้นก็ลองย้ายแบน์เลยครับ จากสูงสุด ลงมากลางๆ ผมเลือกที่จะลงไป 20m เพราะช่วงเวลานั้นใกล้มืดแล้ว หลังจากนั้นเช็คใน PSKReporter.onfo ก็ปรากฎว่า
เริ่มมีความหวัง เพราะมีบางสถานีแถบอินโดนีเซย และแถวๆฮาวายรวมถึงอเมริการับได้แล้ว
หลังจากนั้นก็ได้ 1 QSO จากสถานีแถบอินโนนีเซีย และหลังจากนั้นก็เงียบกริบ (รับได้ แต่ไม่มีใครตอบ)
เทคนิคถัดมาที่ใช้ก็คือ ลองขยับรถ ไปหาที่โลเคชั่นใหม่ๆ แต่ทุกอย่างก็ยังเงียบกริบ
หลังจากเงียบนานเกือบชั่วโมง จึงต้องเปลี่ยนวิธีเล่นใหม่ ก็ย้าย band อีกละครับ แต่รอบนี้ทดลองย้ายให้สูงขึ้นไปหน่อย ไปอีกครั้งก็ไปลงที่ 15m
เห็นผล เพราะมีสถานีจากญี่ปุ่นเริ่มติดต่อเข้ามาต่อเนื่องได้ 3 สถานี ด้วยกำลังส่ง 10W และสายอากาศเล็กๆ ที่มีเกนติดลบ
เทคนิคต่อมา ถ้าเราอยู่ใน band ที่ใช่ในขณะนั้นแล้ว ต่อไปถ้า ไม่มีใครตอบมาเลยสักพัก ให้ลองขยับความถี่ TX ที่ spectrum ของโปรแกรม JTDX หรือ WSJT ดู เพราะในช่วงที่สัญญาณเราอ่อนๆ ถูกส่งออกไป อาจจะถูกบดบังด้วยสถานีที่มีความแรงมากในขณะนั้น เลยทำให้สัญญาณเราอาจถูกซ่อนอยู่ด้านหลัง spectrum และไม่มีใครได้ยิน ดังนั้นใช้ตามองใน spectrum เพื่อดูว่าช่วงไหนที่น่าจะว่าง ก็ลองขยับไป ผมจะใช้วิธีคลิกเมาส์ขวาไปในแถบความถี่ของ program JTDX เลย
หลังจากนั้นรอดูผลประกอบการสักพัก หลังจากใช้ 2-3 เทคนิคที่กล่าวมาข้างบนแล้ว จะทำให้เราได้มีโอกาสสะสมสถานีได้ครบ 10 สถานีในวันนั้น และการ activation park ในครั้งนั้นก็จะประสบผลสำเร็จครับ
เมื่อลองมีตรวจดูใน PSKReporter.info อีกทีก็ปรากฎภาพอย่างที่เห็น คือ 10W FT8 ในวันที่อากาศเปิดดีๆ ก็ไม่เลวเลย ใช่มั๊ยครับ
สรุปใช้เวลาเล่น FT8 POTA แบบ 10W เพื่อให้ครบ 10 สถานีในวั้นนั้น ใช้เวลาไปทั้งหมด 2 ชั่วโมง แบนด์ 15m ได้ 9 สถานี และแบนด์ 20m ได้ 1 สถานี
วันอังคารที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2567
ปฏิบัติการล่าดาวเทียมวิทยุสมัครเล่นช่วง Solar Strom
ในช่วงวันที่ 10 พฤษภาคมที่ผ่านมา มีข่าวประกาศเรื่อง solar strom ครั้งยิ่งใหญ่ในช่วง solar cycle 25 ซึ่งผลกระทบของความแปรปรวนสนามแม่เหล็กโลกอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบของระบบสื่อสารบนโลกใบนี้ได้
สำหรับนักวิทยุสมัครเล่นอย่างเราก็ไม่รอช้า รีบตื่นมาตั้งแต่ตี 3 (ตื่นมาทำไม) เพื่อมาทดลองผลกระทบของ solar strom ครั้งนี้ ด้วย
ไม่ใช่อะไรหรอก เพียงแต่ว่าช่วงตี 3 เป็นเวลาแรกที่ดาวเทียม RS-44 จะผ่านประเทศไทยพอดี ซึ่งทำมุมให้เราติดต่อกับประเทศญี่ปุ่นได้ด้วยเวลานั้น
กลับมาที่ผลกระทบก่อน ช่วงสายๆ ทดลองเปิด HF ฟังที่แถบๆ แบนด์ 15m และ 10m (เนื่องจากตอนนั้นมีสายอากาศแค่นั้น) ผลที่เห็นก็คือ
เป็นความเรียบที่เหมือนไม่ได้ต่อสายอากาศเข้าไป แต่จริงๆแล้วต่ออยู่ครับ สังเกตุเห็นว่า FT8 ก็ไม่มีกระเพื่มเลยสักนิด
อันนี้คือผลกระทบของความถี่ย่าน HF
กลับมาที่ดาวเทียมของเราบ้าง ผมตื่นมาเก็บสถานีที่ติดต่อกันผ่านดาวเทียมตั้งแต่ช่วงเช้าวันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม จนถึงช่วงเย็น 12 พฤษภาคม จนตัวผมเองอาการอ่อนแรงเหมือนจะเป็นไข้ ไม่ใช่เพราะ solar strom แต่เป็นนอนน้อยกับอากาศร้อนในตอนกลางวัน 😂
และนี่คือสรุปการติดต่อกับสถานีวิทยุผ่านดาวเทียมทั้งหมดในช่วงการเกิด solar strom ครั้งใหญ่ในช่วง solar cycle 25 ครับ
และกราฟต่อไปคือสรุปจากการติดต่อสถานีวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียมแต่ละดวง
รวมทั้งหมดที่ติดต่อได้ 40 สถานีผ่านวิทยุสมัครเล่นผ่านดาวเทียม
จะเห็นได้ว่า ช่วง solarstrom แทบจะไม่มีปลกระทบอะไรกับการสื่อสารผ่านดาวเทียม VHF/UHF สำหรับในภูมิภาค Asia ของเราเลยครับ
วันอาทิตย์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2560
Omnia SDR test with WSPR
I used WSPR v.2.1.2 in this version i can config WSPR software to connect Omnia SDR directly by using CAT interface fith SI530 driver. you can see info as below.